รายชื่อสมาชิกกลุ่ม


ม.5/2 เรื่อง ธาตุหมู่ทรานซิชัน


1.นายเดชา เนื่องจำนงค์ หน้าที่ หาเนื้อหา






2. นาย สัญญเพชร ไครบุตร ทำหน้าที่ หาเนื้อหา




3. นางสาวถนอมพร วิทยเจริญพงศ์ ทำหน้าที่

หารูปภาพทำ ฟิวเจอบอร์ด






4. นางสาวจิดาภา โฉมทองดี ทำหน้าที่

หารูปภาพทำ ฟิวเจอบอร์ด





5.นางสาวภัทราพร ยั่งยืน
ทำหน้าที่

หาเนื้อหา




6. นางสาวชนิกานต์ กอตตอเวชโภควัฒน์
ทำหน้าที่ หาเนื้อหา






7. นางสาวคนิดาริน ปานยิ้ม ทำหน้าที่ ทำเว็บเพจ





8.นางสาวณัฏฐา พิชิตสุรกิจ ทำหน้าที่ ทำเว็บเพจ




10 . นางสาวพิชญ์ศุภา ภูมิสวัสดิ์

ทำหน้าที่ ทำเว็บเพจ




11. นางสาวสิราววณ เกษมธีระสมบูรณ์ ทำหน้าที่

หารูปภาพทำ ฟิวเจอบอร์ด








ทองคำ (Au)

Gold (Au)
ทองคำ


เลขอะตอม 79 เป็นธาตุที่ 3 ของหมู่ IB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ
น้ำหนักอะตอม 196.967 amu
จุดหลอมเหลว 1063 ํc
จุดเดือด 2808 ํc
ความหนาแน่น 19.32 g/cc
เลขออกซิเดชันสามัญ +1,+3

การค้นพบ

สันนิฐานว่าทองคำคงจะเป็นโลหะอิสระโลหะแรกที่มนุษย์เรารู้จัก มนุษย์เรารู้จักโลหะทองคำอย่างน้อยตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน Meso potamia (อาณาจักรโบราณในตะวันออกกลาง) ประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นอียิปต์โบราณ ยุโรป จีน ล้วนแล้วแต่มี การกล่าวถึงทองคำ คุณค่าและการใช้ประโยชน์ของโลหะนี้

ความมีค่าของทองคำเป็นแรงดลใจให้มนุษย์เราพยายามเสาะแสวงหามันได้ครอบครอง ในยุคเล่นแร่แปรธาตุ นักวิทยาศาสตร์พยายามหาวิธีเปลี่ยนโลหะที่มีราคาถูกและหาง่าย เช่น Pb, Sn ให้เป็นทองคำ ความพยายามถึงแม้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็มีส่วนทำให้วิทยาการทางเคมี แพทย์และการถลุงโลหะเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ

การใช้ประโยชน์

1. ใช้เป็นมาตรฐานของระบบการเงินสากล ประมาณกึ่งหนึ่งของทองคำทั้งหมดเก็บรักษาอยู่ในคลังของประเทศต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์นี้

2. ใช้เป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ
3. ใช้ทำโลหะเจือ โลหะเจือของทองคำให้สีต่าง ๆ การบอกร้อยละของทองคำในโลหะเจือนิยมระบุเป็นการัด (karat)

1 karat (Kt) = 1/24 ของทองคำโดยน้ำหนักในโลหะเจือ
ดัง นั้นทองคำ 24 Kt คือทองคำบริสุทธิ์ ส่วนทองคำ 18 Kt, 14 Kt และ 10 Kt มีองค์ประกอบของทองคำโดยน้ำหนัก 75.00 %, 58.33 % และ 41.67 % ตามลำดับ

4. แผ่นทองคำบาง ๆ (gold leaf) ใช้เป็นตัวอักษรหรือสัญญาณของเครื่องบอกสัญญาณ ตัวอักษรของปกหนังสือ
5. ทองคำในรูปแขวนลอยใช้ทำลาย และศิลปบนผิวของเครื่องปั้นดินเผา
6. ใช้ในอุตสาหกรรมอิเลกโตรนิก และโครงการยานอวกาศ

ความเป็นพิษ
ทองคำไม่ปรากฏเป็นพิษ

ปรอท (Hg)

Mercury (Hg)
ปรอท



เลขอะตอม 80 เป็นธาตุที่ 3 ของหมู่ IIB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ
น้ำหนักอะตอม 200.59 amu
จุดหลอมเหลว -38.87 ํc
จุดเดือด 356.9 ํc
ความหนาแน่น 13.546 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +1,+2

การค้นพบ
ธาตุ ปรอทเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ได้มีการบันทึกไว้ว่าอารีสโตเติล (Aristotle) เมื่อ 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้รู้จักปรอทและเรียกปรอทว่า "เงินที่ไหลได้" (fluid silver) เพราะลักษณะภายนอกเหมือนโลหะเงิน แต่สามารถไหลหรือกลิ้งไปมาได้ทำนองเดียวกับของเหลว ต่อมาได้มีการเรียกว่า "quicksilver" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกัน คนโบราณรู้จักนำปรอทไปชุบหรือเคลือบผิวโลหะต่าง ๆ เช่น ทองแดง ทองคำ ในสมัยกลางนักเล่นแร่แปรธาตุ (alchemist) ได้พยายามหาวิธีเปลี่ยนปรอทให้เป็นทองคำ
ปรอทมีชื่อภาษาอังกฤษว่า mercury แต่มีสัญญลักษณ์ Hg ซึ่งตั้งขึ้นโดย Berzelius มาจากคำลาติน hydrargyrum ซึ่งมีความหมายว่าเงินเหลว (liquid silver)

การใช้ประโยชน์
ปรอทส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ควบคุมและ มาตรวัดต่าง ๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ โดยอาศัยสมบัติความเสถียรการไหลได้ ความถ่วงจำเพาะสูง และสมบัติการนำไฟฟ้าของมัน ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของปรอทมีดังนี้
1. ใช้ทำเทอร์โมมิเตอร์และบาโรมิเตอร์
2. ใช้ทำให้เกิดโลหะเจือกับโลหะอื่น ๆ เช่น Ag และ Sn โลหะเจือของ Hg และโลหะอื่น ๆ เรียกว่าอะมัลกัม (amalgam) ทันตแพทย์เคยใช้อะมัลกัม ของ Hg ในการอุดฟัน
3. ใช้ผสมกับ Na เกิดโลหะเจือ Na-Hg ซึ่งเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีมากสำหรับปฏิกิริยารีดักชัน
4.ใช้เป็นตัวคะตะไลส์ในกระบวนการการผลิตไวนิลคลอไรด์ (vinyl chloride สูตร CH2 = CH) ซึ่งเป็นสารตั้งต้น หรือโมโนเมอร์ในการผลิตพลาสติกพีวีซี
5. สารประกอบปรอท ทั้งสารอนินทรีย์และอินทรีย์เป็นพิษอย่างแรก จึงใช้เป็นยาปราบศัตรูพืชและใช้ฆ่าเชื้อรา
6. ใช้ทำถ่านไฟฉายแบบอัลคาไลน์ (alkaline)
7. ใช้สกัดทองคำจากแร่ทองคำโดยเกิดอะมัลกัมกับทองคำ
8. ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ เพื่อป้องกันไม่ให้กระดาษเกิดยุ่ยง่าย

ความเป็นพิษ
ปรอทในรูปธาตุอิสระเป็นพิษไม่มากนัก แต่ไอของปรอทเป็นพิษอย่างร้ายแรง เนื่องจาก Hg มีความดันไอต่ำมาก (.0000024 บรรยากาศที่ 25 ํc) ดังนั้นในโอกาสที่จะรับ Hg เข้าสู่ร่างกายในรูปของไอจึงน้อยมาก อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะประมาท ในห้องปฏิบัติการทางเคมีที่มีการใช้ปรอทเป็นประจำ หรือเกิดทำเทอร์โมมิเตอร์แตกหรือทำปรอทหก จึงต้องพยายามเปลี่ยนปรอทไปเป็นสารประกอบปรอทที่ไม่ระเหย

แพลทินัม (Pt)

Platinum (Pt)
แพลทินัม



เลขอะตอม 78 เป็นธาตุที่ 3 ของคาบที่ 7 ของหมู่ VIII ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 195.09 amu
จุดหลอมเหลว 1769.3 ํc
จุดเดือด 3827 ํc
ความหนาแน่น 21.45 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2, +4

การค้นพบ

Julius Caesar Scaliger ในปี ค.ศ. 1557 ได้เขียนถึงสาร ๆ หนึ่งที่พบในเหมืองในอเมริกากลางว่า ไม่สามารถหลอมโดยไฟหรือวิธีการอื่น ๆ ที่ทราบในสมัยนั้น สาร ๆ นี้ตามหลักฐานที่ปรากฎน่าจะเป็นแพลทินัม

ในกลางศตวรรษที่ 18 มีการอ้างอิงถึง "Platina" ว่าเป็นสารปนเปื้อนหรือสารที่ไม่ต้องการของทองคำ ตามเหมืองในประเทศโคลัมเบียในปัจจุบัน

William Brownrigg แพทย์ชาวอังกฤษได้ทำการทดลองเกี่ยวกับธาตุนี้และได้รายงานผลกับ Royal Society ของอังกฤษในปี ค.ศ. 1750

ในปี ค.ศ. 1775 de l'Isleสามารถหลอมแพลทินัมที่ได้สกัดเอาเหล็กและทรายออกไปแล้ว โดยใช้ aqua regia ทำให้ตกตะกอนเป็น ammonium chloroplatinate แล้วตกตะกอนที่ได้นี้ไปเผา

ในปี ค.ศ. 1803 W.H. Wollaston ชาวอังกฤษก็สามารถเตรียมแพลทินัมบริสุทธิ์ได้ โดยการศึกษาสารละลาย aqua regia ของแพลทินัมที่ไม่บริสุทธิ์อย่างละเอียด ซึ่งผลจากการศึกษานี้ เขาค้นพบธาตุใหม่อีกสองธาตุคือ แพลเลเดียม (Pd) และโรเดียว (Rh) ด้วย Platinum มาจากคำสเปน platina แปลว่า silver (เงิน)

การใช้ประโยชน์
แพลทินัมเป็นโลหะในตระกูลแพลทินัมที่มีปริมาณการใช้มากที่สุด (สถิติในปี ค.ศ. 1965 ปริมาณ 43 % ของโลหะในตระกูลแพลทินัม) และส่วนใหญ่ใช้ในรูปของโลหะอิสระและในรูปของผงละเอียดดังนี้
1. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) และปฏิกิริยาการดึงเอาไฮโดรเจนออก (dehydrogenation) ในเคมีอินทรีย์
2. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับดัดแปลงโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนในกระบวนการไอโซเมอไรเซชัน เพื่อเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมันเชื้อเพลิง
3. ใช้เป็นตัวเร่งช่วยทำให้แก๊สบริสุทธิ์โดยกระบวนการออกซิเดชันหรือการเติมไฮโดรเจน
4. มีการใช้บ้างในกระบวนการคอนแทก (Contact process) เพื่อผลิตกรดซัลฟุริก

ความเป็นพิษ
แพลทินัมในรูปธาตุอิสระไม่ปรากฏเป็นพิษ แต่เกลือที่ละลายได้เป็นพิษ ในรูปของ ผงละเอียดอาจติดไฟได้

ทังสเตน (W)

Tungsten(Wolfram) (W)
ทังสเตน (วุลแฟรม)


เลขอะตอม 74 เป็นธาตุที่ 3 ของหมู่ VI B ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ
น้ำหนักอะตอม 183.35 amu
จุดหลอมเหลว 3410 ํc
จุดเดือด 5930 ํc
ความหนาแน่น 19.3 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2, +4, +5, +6

การค้นพบ
ประมาณปี ค.ศ. 1574 Lazrus Ecker ได้บันทึกเกี่ยวกับแร่ของธาตุนี้ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า wolframite (FeMn) WO4 แร่นี้เดิมเรียกว่า wolfram มาจากคำว่า "wolflike" หรือคล้ายหมาป่า ซึ่งท้าวความไปถึงธรรมชาติของการกินกลืนดีบุกโดยแร่นี้ ทำให้ผลผลิตของดีบุกที่ได้จากการรีดิวซ์ออกไซด์ ของดีบุกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (เพราะ wolframite ทำหน้าที่ขัดขวางปฏิกิริยารีดักชันของออกไซด์ของดีบุก)

แร่อีกแร่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า scheelite (CaWO4) เดิมเรียกว่า tungsten จากคำสวีดิช "tung" หมายถึงหนักและ "sten" หมายถึงหิน

เป็นที่เชื่อกันว่า J.J. de Elhuyer และ F. de Elhuyer สองพี่น้องชาวสเปน สามารถสกัดโลหะทังสเตนได้ในราวปี ค.ศ. 1783 เขาทั้งสองยังได้แสดงให้เห็นว่าในแร่ wolframite นอกจากมีทังสเตนแล้ว ยังมีแมงกานีสและเหล็กเจือปนอยู่ด้วย

การใช้ประโยชน์
ทังสเตนใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908 โดยใช้ทำเป็น filament สำหรับหลอดไฟฟ้า เพราะจุดหลอมเหลวที่สูงมาก และความดันไอที่ต่ำมาก ทังสเตนยังคงใช้ทำ filament จนกระทั่งทุกวันนี้

ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์หลักของทังสเตน (โดยน้ำหนัก) ได้แก่ ใช้ในรูปทังสเตนคาร์ไบด์ (WC และ WC2) ซึ่งใช้ทำเครื่องมือ (tools) โลหะเจือปนที่ใช้งาน ณ อุณหภูมิสูง คอนเทกไฟฟ้า (electrical contact) และในโครงการอวกาศ และอื่น ๆ

ความเป็นพิษ
ทังสเตนในรูปผงสามารถติดไฟฟ้า ระดับความทนได้ในผงทังสเตนในอากาศคื 5 mg/m3

แคดเมียม (Cd)

Cadmium (Cd)
แคดเมียม


ลขอะตอม 48 เป็นธาตุที่ 2 ของหมู่ IIB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ
น้ำหนักอะตอม 112.40 amu
จุดหลอมเหลว 321 ํc
จุดเดือด (โดยประมาณ) 767 ํc
ความหนาแน่น (จากการคำนวณ) 8.65 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ + 2

การค้นพบ

ค้นพบโดย F. Strohmeyer ชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1817 โดยแยกออกไซด์ของธาตุนี้ที่อยู่ปะปนในปริมาณเล็กน้อยกับซิงค์คาร์บอเนต (ZnCO3) โดยทำให้ตกตะกอนออกมาด้วยไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แล้วรีดิวซ์ต่อไปเป็นโลหะอิสระ

Strohmeyer เรียกโลหะนี้ว่า "cadmia" จากคำ calamine ชื่อเรียกซิงค์คาร์บอเนตในสมัยนั้น

ความเป็นพิษ
แคดเมียมเป็นโลหะที่เป็นพิษมากที่สุดโลหะหนึ่ง
เมื่อ cd เข้าสู่ร่างกายจะสะสมในร่างกายและปริมาณการสะสมเพิ่มขึ้นกับอายุ มีการประมาณการว่าคนทั่วไปที่มีอายุ 50 ปี มี cd สะสมในร่างกาย 10 mg ถึง 50-60 mg สุดแล้วแต่ว่าคน ๆ นั้นอยู่ที่ไหนของโลก ส่วนเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่มี cd ในร่างกายเพียง 1 mg
การสะสม cd ในร่างกายในปริมาณสูงทำให้คนหรือสัตว์เป็นหมันและเป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้แล้วยังทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ก่อความเสียหายต่อไตและตับ บทบาทความเป็นพิษของ cd ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก แต่ชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการเข้าแทนที่ Zn ในเอนไซม์บางชนิด ทำให้เอนไซม์นั้นไม่สามารถทำงานตามปกติไดี

เงิน (Ag)

Silver (Ag)
เงิน


เลขอะตอม 47 เป็นธาตุที่ 2 ของหมู่ IB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 107.870 amu
จุดหลอมเหลว 960.8 ํc
จุดเดือด 2210 ํc
ความหนาแน่น 10.5 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +1

การค้นพบ
มนุษย์รู้จักโลหะเงินตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานปรากฎว่ามีการค้นพบโลหะเงินหลังทองคำและทองแดงไม่มากนัก มีการกล่าวถึงเงินในพระคำภีร์เก่าชาวอียิปต์ให้สัญลักษณ์วงกลมแก่ทองคำ หมายถึงเป็นโลหะสมบูรณ์แบบ

ส่วนโลหะเงินให้สัญลักษณ์ ครึ่งวงกลมเพื่อแสดงว่าเป็นโลหะที่มีความสมบูรณ์แบบรองจากทองคำ ต่อมาครึ่งวงกลมนี้หมายถึงดวงจันทร์ด้วย เพราะโลหะเงินมีความแวววาวหรือสว่าง ทำนองเดียวกันดวงจันทร์ ชาวโรมันเรียกโลหะเงินว่า argentum ซึ่งเป็นที่มาของสัญลักษณ์เงิน (Ag) ส่วนคำอังกฤษ silver มาจาก Assyrians

การใช้ประโยชน์

โลหะเงินใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง พอสรุปได้ดังนี้

1. ใช้ทำขดลวดแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchange coils) และอุปกรณ์การระเหย ท่อลำเลียง
2. ใช้ทำอุปกรณ์สำหรับทำปฏิกิริยาเคมี
3. ใช้เตรียมซิลเวอร์ไนเตรต ซิลเวอร์โบรไมด์ ซึ่งใช้เป็นน้ำยาการถ่ายภาพ
4. ใช้ในอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์
5. ใช้เป็นตัวเร่ง (catalyst) ในปฏิกิริยาหลายประเภท เช่น ปฏิกิริยาการเตรียมเอทีลีน

ความเป็นพิษ
เงินในรูปของธาตุอิสระเป็นพิษไม่มากนัก แต่เกลือส่วนใหญ่เป็นพิษ (เพราะ แอนอิออน) สารประกอบของเงินเมื่อเข้าสู่ร่างกายถูกดูดเข้าสู่ระบบการหมุนเวียนของโลหิต ได้ และถูกรีดิวซ์ทำให้โลหะเงินตกค้างตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ผลก็คือผิวหนังเกิดจุดสีเทา สภาวะเช่นนี้เรียกว่า argyria

เทคนีเซียม (Tc)

Technetium (Tc)
เทคนีเชียม


เลขอะตอม 43 เป็นธาตุที่ 2 ของหมู่ VII B ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 98.9062 amu
จุดหลอมเหลว 2170 ํc
จุดเดือด 5030 ํc
ความหนาแน่น 11.45 g/cc
เลขออกซิเดชันสามัญ +4, +5, +6, +7

การค้นพบ
การค้นพบ ในปี ค.ศ. 1937 Perrier และ Segre ค้นพบธาตุนี้จากการนำโมลิบดินัม (Mo) มาระดมยิงด้วย ดิวเทอรอน (d) เขาทั้งสองตั้งชื่อธาตุที่ 43 นี้ว่า Technetium การค้นพบธาตุนี้ทำให้ตำแหน่งของธาตุ 47 ของหมู่ VII B ในตารางธาตุจึงว่างเปล่ามาเป็นเวลาช้านาน ได้รับการบรรจุและหมู่ VII B มีธาตุอยู่ครบในที่สุด

การใช้ประโยชน์

เปอร์เทคนีเตตอิออน (TcO4) มีสมบัติต่อต้านการผุกร่อน

เทคนีเชียมและโลหะเจือของมันมีสมบัติเป็น superconductor และใช้ในการทำให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ ณ อุณหภูมิต่ำ

ความเป็นพิษ
เนื่องจากสมบัติกัมมันตรังสีของธาตุนี้ ธาตุนี้และสารประกอบจึงมีอันตราย การใช้จึงต้องใช้ในที่ ๆ มีสิ่งปกปิดหรือมีสิ่งกำบังรังสี

โมลิบดีนัม (Mo)

Molybdenum (Mo)
โมลิบดีนัม


เลขอะตอม 42 เป็นธาตุที่ 2 ของหมู่ VIB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 95.94 amu
จุดหลอมเหลว 2610 ํc
จุดเดือด 5560 ํc
ความหนาแน่น 10.22 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2,+3,+4,+5,+6

การค้นพบ
Karl W. Scheel นักเคมีชาวสวีเดนเป็นคนแรกที่ค้นพบแร่ molybdenite ในปี ค.ศ. 1778 เขาสามารถแสดงให้เห็นว่าเมื่อนำแร่นี้มาทำปฏิกิริยากับกรดไนตริกเกิดสารสี ขาวพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งเขาเรียกว่าเป็น "peculiar white earth" สมบัติเป็นกรด เขาเรียกสารนี้ว่ากรดโมลิบดิก (molybdic acid) เขาสังเกตต่อไปว่าเมื่อนำแร่นี้มาเผาจะเกิดควันซัลฟุรัสขึ้น ทำให้เขาเชื่อว่าแรก molybdenite คือซัลไฟด์ของโมลิบดีนัม
ในปี ค.ศ. 1782 P.J. Hjelm สามารถสกัดธาตุโมลิบดีนัมอิสระได้โดยรีดิวซ์ออกไซด์ของธาตุนี้ด้วยคาร์บอน
ชื่อของธาตุนี้เริ่มจากคำว่า molybdos ซึ่งชาวกรีกและโรมันโบราณใช้เรียกแรกที่อ่อนและมีลักษณะคล้ายตะกั่ว ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 ก็ได้มีการตั้งชื่อ molybdenum กับธาตุนี้

การใช้ประโยชน์
ประมาณ 85 % โดยโมลิบดีนัมที่ผลิตได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมโลหะเจือที่มีเหล็กเป็นพื้นฐาน เช่น การผลิตเหล็กกล้า เหล็กปลอดสนิม (stainless steel) เหล็กกล้าใช้ทำเครื่องมือ และเหล็ก cast irons เพื่อทำให้โลหะเจือที่ได้มีสมบัติดีขึ้น เช่น แข็งแกร่งขึ้น ต่อต้านการผุกร่อนและการขึ้นสนิม ดีขึ้นและช่วยทำให้การหล่อทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

ความเป็นพิษ
โมลิบดีนัมเป็นโลหะจำเป็นที่พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อยเพื่อการเจริญเติบโต และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของสัตว์ด้วย ได้มีการเติมสารประกอบของ Mo ในไวตามินบางชนิด และยังมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า โมลิบดีนัมมีส่วนช่วยทำให้ฟันแข็งแรงด้วย สารประกอบของ Mo ทั่วไปก็ไม่เป็นพิษหรือถ้าให้โทษก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก

สังกะสี (Zn)

Zinc (Zn)
สังกะสี

เลขอะตอม 30 เป็นธาตุแรกของหมู่ II B จัดเป็นโลหะ
น้ำหนักอะตอม 65.37 amu
จุดหลอมเหลว 419.5 ํc
จุดเดือด 907 ํc
ความหนาแน่น 7.133 g/cc ที่ 25 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2

สังกะสีเป็นโลหะโครงสร้างที่มีความสำคัญเป็นลำดับ 4 รองจากเหล็กกล้า อะลูมิเนียมและทองแดง เนื่องจากสังกะสีมีเลขออกซิเดชันได้เพียงค่าเดียวคือ +2 และขาดสมบัติทั่วไปของธาตุทรานซิชัน ในปัจจุบันจึงไม่จัดสังกะสีเป็นโลหะทรานซิชัน แต่เรียกว่าเป็นธาตุหลังทรานซิชัน (post transition element)

การค้นพบ
มนุษย์ รู้จักนำสังกะสีมาใช้ประโยชน์เป็นเวลาช้านานแล้ว แต่การรู้จักสังกะสีในรูปของโลหะหรือธาตุอิสระเกิดขึ้นหลังมากเมื่อเปรียบ เทียบกับทองแดงและตะกั่ว เพราะในสมัยโบราณมักใช้ สังกะสีในรูปของโลหะ เจือ

เริ่มมีการถลุงและสกัดสังกะสีที่ไม่บริสุทธิ์ในประเทศจีนและอินเดียประมาณปี ค.ศ. 1000 และได้มีการนำสังกะสีที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ (เรียกว่า slab zinc หรือ spelter) เข้าไปยังยุโรปในศตวรรษที่ 17 ซึ่งใน ขณะนั้นยังไม่ได้มีชื่อเป็นทางการสำหรับโลหะนี้และได้มีการเรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น tutanege, Indian tin, calamine หรือ spiauter

ในปี ค.ศ. 1697 Lohneyes เรียกเชื่อธาตุนี้ว่า "Zink" ซึ่งต่อมากลายเป็น "zinc"

การใช้ประโยชน์
1. ใช้ประโยชน์ในรูปของโลหะเจือ เช่นกับทองแดง (Cu) และอะลูมินัม (Al) ในการผลิตแผ่นโลหะเจือ
2. ใช้เคลือบผิว (galvanizing) เหล็กกล้าเพื่อป้องกันการขึ้นสนิมของเหล็กกล้า
3. ใช้เติมในยางและสี
4. อื่น ๆ เช่น ชิ้นส่วนของรถยนต์ ฟิวไฟฟ้า อะโนดของเซลล์ไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย (dry cell) และเตรียมสารเคมีของสังกะสี

ความเป็นพิษ
สังกะสีในรูปธาตุไม่ปรากฎเป็นพิษ และตามความเป็นจริงแล้ว สังกะสีเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของคนและสัตว์ แต่สารประกอบหลายชนิดอาจเป็นพิษ แต่จัดอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ เพราะสามารถถูกขจัดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว สังกะสีในรูปผงอาจติดไฟโดยตนเองและเกิดการระเบิดได้



ไนโอเบียม (Nb)

Niobium
(Nb)
ไนโอเบียม

เลขอะตอม 41 เป็นธาตุที่ 2 ของหมู่ V B ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและ โลหะทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 92.906 amu
จุดหลอมเหลว 2468 +/- 10 ํc
จุดเดือด 4927 ํc
ความหนาแน่น 8.57 g/cc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2, +3, +4 และ +5

การค้นพบ


ใน ปี ค.ศ. 1801 Charles Hatchett นักเคมีชาวอังกฤษ ได้ทำการวิเคราะห์ ตัวอย่างสินแร่สีดำก้อนหนึ่งไปให้พิพิธภัณฑ์อังกฤษในปี ค.ศ. 1753 จากรัฐ Connecticut (เป็นรัฐหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา) เขาได้พบว่าสินแร่นี้ประกอบด้วยธาตุใหม่ธาตุหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า columbium เพื่อเป็นเกียรติแก่แหล่งที่มาของสินแร่ก้อนนั้น (สมัยนั้นนิยมเรียกอเมริกาว่า Columbia)

ในปี ค.ศ. 1844 Rose นักเคมีอีกท่านหนึ่งก็ได้พบธาตุใหม่ธาตุหนึ่งเช่นกัน ซึ่งเขาเรียกว่า niobium จาก Niobe เทพเจ้าแห่ง Tears และเป็นธิดาของ Tantalus ในเทพนิยายของกรีก ในสมัยนั้นเกิดความสับสนขึ้นระหว่าง columbium, niobium และ tantalum ซึ่งต่อมาพบว่าแท้จริงแล้ว columbium และ niobium เป็นธาตุชนิดเดียวกัน แต่แตกต่างไปจาก tantalum

ในปี ค.ศ. 1949 จากที่ประชุม International Union of Chemistry Congress ณ กรุงAmsterdam ได้ตกลงเรียกชื่อธาตุนี้ว่า niobium ซึ่งเป็นชื่อยอมรับกันในระดับสากลในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ columbium ก็ยังมีคนใช้กันอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยนักโลหะวิทยา และชื่อนี้ยังปรากฏเสมอในสิ่งตีพิมพ์ โดยเฉพาะในสิ่งตีพิมพ์สมัยก่อน

ในปี ค.ศ. 1866 Blomstrand เตรียมไนโอเบียมในรูปธาตุอิสระได้เป็นครั้งแรกโดยรีดิวซ์ไนโอเบียมคลอไรด์ ด้วยไฮโดรเจน ต่อมา Moissan เตรียมธาตุนี้ได้เช่นกัน โดยรีดิวซ์ออกไซด์ของไนโอเบียมด้วยคาร์บอนในเตาไฟฟ้า หลังจากนั้น Goldschmidt ก็สามารถรีดิวซ์ออกไซด์ของโลหะนี้ด้วยผงอลูมินัมได้ Nb เป็นผลิตผล

การใช้ประโยชน์
การ ใช้ประโยชน์ของไนโอเบียมในเชิงพาณิชย์ได้แก่ การใช้ในรูปของ ferroniobium ใช้ทำโลหะเจือกับเหล็กกล้าได้เหล็กกล้าประเภท "Columbium" เหล็กกล้าชนิด อื่น ๆ และ superalloy ที่สามารถทนต่อความร้อนสูงบางชนิด นอกจากนี้แล้วยังใช้ประโยชน์เป็นตัว "getter" ในหลอดสูญญากาศ ในปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อุปกรณ์ของจรวด ฯลฯ

ความเป็นพิษ
โลหะไนโอเบียมไม่ปรากฏเป็นพิษ