ปรอท (Hg)

Mercury (Hg)
ปรอท



เลขอะตอม 80 เป็นธาตุที่ 3 ของหมู่ IIB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ
น้ำหนักอะตอม 200.59 amu
จุดหลอมเหลว -38.87 ํc
จุดเดือด 356.9 ํc
ความหนาแน่น 13.546 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +1,+2

การค้นพบ
ธาตุ ปรอทเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ได้มีการบันทึกไว้ว่าอารีสโตเติล (Aristotle) เมื่อ 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้รู้จักปรอทและเรียกปรอทว่า "เงินที่ไหลได้" (fluid silver) เพราะลักษณะภายนอกเหมือนโลหะเงิน แต่สามารถไหลหรือกลิ้งไปมาได้ทำนองเดียวกับของเหลว ต่อมาได้มีการเรียกว่า "quicksilver" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกัน คนโบราณรู้จักนำปรอทไปชุบหรือเคลือบผิวโลหะต่าง ๆ เช่น ทองแดง ทองคำ ในสมัยกลางนักเล่นแร่แปรธาตุ (alchemist) ได้พยายามหาวิธีเปลี่ยนปรอทให้เป็นทองคำ
ปรอทมีชื่อภาษาอังกฤษว่า mercury แต่มีสัญญลักษณ์ Hg ซึ่งตั้งขึ้นโดย Berzelius มาจากคำลาติน hydrargyrum ซึ่งมีความหมายว่าเงินเหลว (liquid silver)

การใช้ประโยชน์
ปรอทส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ควบคุมและ มาตรวัดต่าง ๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ โดยอาศัยสมบัติความเสถียรการไหลได้ ความถ่วงจำเพาะสูง และสมบัติการนำไฟฟ้าของมัน ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของปรอทมีดังนี้
1. ใช้ทำเทอร์โมมิเตอร์และบาโรมิเตอร์
2. ใช้ทำให้เกิดโลหะเจือกับโลหะอื่น ๆ เช่น Ag และ Sn โลหะเจือของ Hg และโลหะอื่น ๆ เรียกว่าอะมัลกัม (amalgam) ทันตแพทย์เคยใช้อะมัลกัม ของ Hg ในการอุดฟัน
3. ใช้ผสมกับ Na เกิดโลหะเจือ Na-Hg ซึ่งเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีมากสำหรับปฏิกิริยารีดักชัน
4.ใช้เป็นตัวคะตะไลส์ในกระบวนการการผลิตไวนิลคลอไรด์ (vinyl chloride สูตร CH2 = CH) ซึ่งเป็นสารตั้งต้น หรือโมโนเมอร์ในการผลิตพลาสติกพีวีซี
5. สารประกอบปรอท ทั้งสารอนินทรีย์และอินทรีย์เป็นพิษอย่างแรก จึงใช้เป็นยาปราบศัตรูพืชและใช้ฆ่าเชื้อรา
6. ใช้ทำถ่านไฟฉายแบบอัลคาไลน์ (alkaline)
7. ใช้สกัดทองคำจากแร่ทองคำโดยเกิดอะมัลกัมกับทองคำ
8. ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ เพื่อป้องกันไม่ให้กระดาษเกิดยุ่ยง่าย

ความเป็นพิษ
ปรอทในรูปธาตุอิสระเป็นพิษไม่มากนัก แต่ไอของปรอทเป็นพิษอย่างร้ายแรง เนื่องจาก Hg มีความดันไอต่ำมาก (.0000024 บรรยากาศที่ 25 ํc) ดังนั้นในโอกาสที่จะรับ Hg เข้าสู่ร่างกายในรูปของไอจึงน้อยมาก อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะประมาท ในห้องปฏิบัติการทางเคมีที่มีการใช้ปรอทเป็นประจำ หรือเกิดทำเทอร์โมมิเตอร์แตกหรือทำปรอทหก จึงต้องพยายามเปลี่ยนปรอทไปเป็นสารประกอบปรอทที่ไม่ระเหย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น