โครเมียม (Cr)

Chromium (Cr)

โครเมียม

เลขอะตอม 24 โลหะทรานซิชัน
มวลอะตอม 51.9961(6) กรัม/โมล
จุดหลอมเหลว 1907 oC
จุดเดือด 2944 oC
ความหนาแน่น
7.15 g/cc

คุณสมบัติเฉพาะตัว
โครเมียมเป็นโลหะมันวาวสีเทา ที่สามารถขัดเป็นในได้ดี และมีจุดหลอมเหลวสูง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถตีขึ้นรูปได้
สถานะออกซิเดชันที่ปรากฏมากที่สุดคือ +2 +3 และ +6 โดยที่ +3 เสถียรที่สุด +1 +4 และ +5 ปรากฏน้อย สารประกอบโครเมียมที่มีสถานะ +6 เป็นตัวออกซิไดส์อานุภาพสูง
โครเมียมทำปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้เกิดชั้นออกไซด์บาง ๆ ที่ป้องกันการทำปฏิกิริยาเพิ่มเติมกับโลหะที่อยู่ภายใต้

การนำไปใช้
• ในงานโลหกรรม ใช้ในการป้องกันการกัดกร่อน และทำให้เกิดความมันวาว
• ผสมเป็นโลหะผสม เช่น มีดสแตนเลส
• การเคลือบโลหะ
• ใช้ในอะลูมิเนียมอะโนไดส์ ทำให้พื้นผิวของอะลูมิเนียมกลายเป็นทับทิม
• โครเมียม (III) ออกไซด์ เป็นผงขัดโลหะ
• เกลือโครเมียมทำให้แก้วมีสีเขียวมรกต
• โครเมียมทำให้ทับทิมมีสีแดง จึงใช้ผลิตทับทิมเทียม
• ทำให้เกิดสีเหลืองสำหรับทาสี
• เป็นคะตาลิสต์
• โครไมต์ใช้ทำแม่พิมพ์สำหรับการเผาอิฐ
• เกลือโครเมียมใช้ในการฟอกหนัง
• โปแตสเซียม ไดโครเมต เป็นสารทำปฏิกิริยา ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ และเป็นสารทำการไทเครท นอกจากนี้ ยังใช้ในการทำให้สีย้อมติดผ้า
• โครเมียม (IV) ออกไซด์ (CrO2) ใช้ผลิตเทปแม่เหล็ก มีประสิทธิภาพสูงกว่าเทปที่ผลิตจากเหล็กออกไซด์
• ใช้ป้องกันการกัดกร่อนในการเจาะบ่อ
• ใช้เป็นอาหารเสริม หรือยาลดน้ำหนัก ส่วนใหญ่เป็น โครเมียม (III) คลอไรด์ และโครเมียม(III) "พโกลิเนต
• โครเมียม เฮกซะคาร์บอนิล (Cr(CO)6) ใช้ผสมลงในเบนซิน
• โครเมียม โบไรด์ (CrB) ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าอุณหภูมิสูง
• โครเมียม (III) ซัลเฟต (Cr2(SO4)3) ใช้เป็นผงสีเขียวในสี เซอรามิก วาร์นิช และหมึก รวมทั้งการเคลือบโลหะ
• โครเมียมช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกายและควบคุมน้ำตาลในเลือด




1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 มกราคม 2553 เวลา 17:28

    อุ้ยมีรูปด้วย

    หามาจากไหนวะ

    มาเติ้ส

    ตอบลบ