โมลิบดีนัม (Mo)

Molybdenum (Mo)
โมลิบดีนัม


เลขอะตอม 42 เป็นธาตุที่ 2 ของหมู่ VIB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 95.94 amu
จุดหลอมเหลว 2610 ํc
จุดเดือด 5560 ํc
ความหนาแน่น 10.22 g/cc ที่ 20 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2,+3,+4,+5,+6

การค้นพบ
Karl W. Scheel นักเคมีชาวสวีเดนเป็นคนแรกที่ค้นพบแร่ molybdenite ในปี ค.ศ. 1778 เขาสามารถแสดงให้เห็นว่าเมื่อนำแร่นี้มาทำปฏิกิริยากับกรดไนตริกเกิดสารสี ขาวพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งเขาเรียกว่าเป็น "peculiar white earth" สมบัติเป็นกรด เขาเรียกสารนี้ว่ากรดโมลิบดิก (molybdic acid) เขาสังเกตต่อไปว่าเมื่อนำแร่นี้มาเผาจะเกิดควันซัลฟุรัสขึ้น ทำให้เขาเชื่อว่าแรก molybdenite คือซัลไฟด์ของโมลิบดีนัม
ในปี ค.ศ. 1782 P.J. Hjelm สามารถสกัดธาตุโมลิบดีนัมอิสระได้โดยรีดิวซ์ออกไซด์ของธาตุนี้ด้วยคาร์บอน
ชื่อของธาตุนี้เริ่มจากคำว่า molybdos ซึ่งชาวกรีกและโรมันโบราณใช้เรียกแรกที่อ่อนและมีลักษณะคล้ายตะกั่ว ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 ก็ได้มีการตั้งชื่อ molybdenum กับธาตุนี้

การใช้ประโยชน์
ประมาณ 85 % โดยโมลิบดีนัมที่ผลิตได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมโลหะเจือที่มีเหล็กเป็นพื้นฐาน เช่น การผลิตเหล็กกล้า เหล็กปลอดสนิม (stainless steel) เหล็กกล้าใช้ทำเครื่องมือ และเหล็ก cast irons เพื่อทำให้โลหะเจือที่ได้มีสมบัติดีขึ้น เช่น แข็งแกร่งขึ้น ต่อต้านการผุกร่อนและการขึ้นสนิม ดีขึ้นและช่วยทำให้การหล่อทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

ความเป็นพิษ
โมลิบดีนัมเป็นโลหะจำเป็นที่พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อยเพื่อการเจริญเติบโต และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของสัตว์ด้วย ได้มีการเติมสารประกอบของ Mo ในไวตามินบางชนิด และยังมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า โมลิบดีนัมมีส่วนช่วยทำให้ฟันแข็งแรงด้วย สารประกอบของ Mo ทั่วไปก็ไม่เป็นพิษหรือถ้าให้โทษก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น