ไนโอเบียม (Nb)

Niobium
(Nb)
ไนโอเบียม

เลขอะตอม 41 เป็นธาตุที่ 2 ของหมู่ V B ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและ โลหะทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 92.906 amu
จุดหลอมเหลว 2468 +/- 10 ํc
จุดเดือด 4927 ํc
ความหนาแน่น 8.57 g/cc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2, +3, +4 และ +5

การค้นพบ


ใน ปี ค.ศ. 1801 Charles Hatchett นักเคมีชาวอังกฤษ ได้ทำการวิเคราะห์ ตัวอย่างสินแร่สีดำก้อนหนึ่งไปให้พิพิธภัณฑ์อังกฤษในปี ค.ศ. 1753 จากรัฐ Connecticut (เป็นรัฐหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา) เขาได้พบว่าสินแร่นี้ประกอบด้วยธาตุใหม่ธาตุหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า columbium เพื่อเป็นเกียรติแก่แหล่งที่มาของสินแร่ก้อนนั้น (สมัยนั้นนิยมเรียกอเมริกาว่า Columbia)

ในปี ค.ศ. 1844 Rose นักเคมีอีกท่านหนึ่งก็ได้พบธาตุใหม่ธาตุหนึ่งเช่นกัน ซึ่งเขาเรียกว่า niobium จาก Niobe เทพเจ้าแห่ง Tears และเป็นธิดาของ Tantalus ในเทพนิยายของกรีก ในสมัยนั้นเกิดความสับสนขึ้นระหว่าง columbium, niobium และ tantalum ซึ่งต่อมาพบว่าแท้จริงแล้ว columbium และ niobium เป็นธาตุชนิดเดียวกัน แต่แตกต่างไปจาก tantalum

ในปี ค.ศ. 1949 จากที่ประชุม International Union of Chemistry Congress ณ กรุงAmsterdam ได้ตกลงเรียกชื่อธาตุนี้ว่า niobium ซึ่งเป็นชื่อยอมรับกันในระดับสากลในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ columbium ก็ยังมีคนใช้กันอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยนักโลหะวิทยา และชื่อนี้ยังปรากฏเสมอในสิ่งตีพิมพ์ โดยเฉพาะในสิ่งตีพิมพ์สมัยก่อน

ในปี ค.ศ. 1866 Blomstrand เตรียมไนโอเบียมในรูปธาตุอิสระได้เป็นครั้งแรกโดยรีดิวซ์ไนโอเบียมคลอไรด์ ด้วยไฮโดรเจน ต่อมา Moissan เตรียมธาตุนี้ได้เช่นกัน โดยรีดิวซ์ออกไซด์ของไนโอเบียมด้วยคาร์บอนในเตาไฟฟ้า หลังจากนั้น Goldschmidt ก็สามารถรีดิวซ์ออกไซด์ของโลหะนี้ด้วยผงอลูมินัมได้ Nb เป็นผลิตผล

การใช้ประโยชน์
การ ใช้ประโยชน์ของไนโอเบียมในเชิงพาณิชย์ได้แก่ การใช้ในรูปของ ferroniobium ใช้ทำโลหะเจือกับเหล็กกล้าได้เหล็กกล้าประเภท "Columbium" เหล็กกล้าชนิด อื่น ๆ และ superalloy ที่สามารถทนต่อความร้อนสูงบางชนิด นอกจากนี้แล้วยังใช้ประโยชน์เป็นตัว "getter" ในหลอดสูญญากาศ ในปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อุปกรณ์ของจรวด ฯลฯ

ความเป็นพิษ
โลหะไนโอเบียมไม่ปรากฏเป็นพิษ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น