นิกเกิล (Ni)

Nickel (Ni) นิกเกิล

เลขอะตอม 28 เป็นธาตุที่ 3 ในคาบที่ 4 ของหมู่ VIII ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะทรานซิชัน
น้ำหนักอะตอม 58.71 amu
จุดหลอมเหลว 1453 ํc
จุดเดือด (โดยประมาณ) 2730 ํc
เลขออกซิเดชันสามัญ +2, +3

การค้นพบ
นิ กเกิดสกัดได้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1751 โดย Cronstedt ในปี ค.ศ. 1804 Richter สามารถเตรียมนิกเกิลที่ค่อนข้างบริสุทธิ์และได้ศึกษาถึงสมบัติของนิกเกิล และในปี ค.ศ. 1870 Fleitmann ได้พบว่าถ้าผสมแมกนีเซียมเล็กน้อยกับนิกเกิล จะสามารถนำมาตีเป็นแผ่นบาง ๆ ได้

การใช้ประโยชน์
มากกว่ากึ่งหนึ่งของโลหะนิกเกิลที่ผลิตได้ทั้งหมดใช้ใน อุตสาหกรรมโลหะเจือ (alloy) เช่น เหล็กกล้าปลอดสนิม (stainless steel) ที่นิยมใช้ชนิดหนึ่งมี Ni 8 % และ Cr 18 % เป็นองค์ประกอบ โลหะเจือ wrought และ cast มี Ni สูงกว่า 25 % (ที่เหลือเป็น Cr, Fe และโลหะอื่น ๆ) ใช้ทำแม่เหล็กถาวร โลหะเจือที่สามารถต้านทาน ไฟฟ้า เป็นต้น การใช้ประโยชน์อื่น ๆ ของนิกเกิล เช่น
1. ใช้ชุบโลหะ
2. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาบางประเภท (ตัวเร่งเรียกว่า Raney nickel) เช่น ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของน้ำมันพืช
3. แบตเตอรี่สะสมแบบอัลคาไลน์ (alkaline storage battery)
4.อิเลกโตรเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell electrodes)
5. อุตสาหกรรมเซรามิกส์
6. ใช้เป็นโลหะประดับและอื่น ๆ

ความเป็นพิษ
ถึงแม้นิกเกิลจะอยู่คาบเดียวกันกับ Fe และ Co (ตามหลัง Fe และ Co) ซึ่งอาจคาดว่ามี activity ต่อร่างกาย แต่กลับปรากฎว่า Ni ไม่มีผลทางสรีระต่อทั้งสัตว์และพืช นิกเกิลและสารประกอบของนิกเกิลทั่วไปเป็นพิษต่อร่างกายในเกณฑ์ต่ำหรือจัดว่า ไม่เป็นพิษก็ได้ (เข้าสู่ร่างกายโดยทางอาหาร) อย่างไรก็ตามนิกเกิลในรูปของผงหรือฝุ่นติดไฟง่ายและเป็นพิษ ระดับการทนได้ของผง Ni ในอากาศ คือ 1 mg/m3 ของอากาศ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น